วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

ประเทศศรีลังกา

                                              
                        ศรีลังกา หรือเรียกอย่างทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียใกล้ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลงกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 และเป็นชื่อที่ยังคงใช้ในบางโอกาส ซึ่งชื่อในปัจจุบันคือ ศรีลังกา ชีวิตบนเกาะนี้ ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ ระหว่างรัฐบาล และกองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Eelam) ซึ่งได้มีข้อตกลงหยุดยิงเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002)

1. ข้อมูลทั่วไป
               การปกครอง : สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตย
               ภาษาราชการ : ภาษาสิงหลและภาษาทมิฬ
               เพลงชาติ : ศรีลังกามาตา (มารดาแห่งศรีลังกา)
               เมืองหลวง : ศรีชัยวรเทนปุระ-โกตเต
               พื้นที่ : 65,610 ตร.กม.
               ประชากร : 20,743,000 คน (2548)
               สกุลเงิน : รูปี
               ศาสนา : พุทธศาสนา ร้อยละ 69.3 /ศาสนาฮินดู ร้อยละ 15.5 /ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 7.6% /ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 7.5 ศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.1
 
2. ประวัติศาสตร์ศรีลังกา
               จากหลักฐานการค้นพบของนักโบราณคดีค้นพบเกี่ยวกับชุมชนบนเกาะลังกาสมัยก่อนประวัติศาตร์ว่า มนุษย์เผ่าหนึ่งลักษณะสันคิ้วหนา สันนิษฐานว่าเป็นชนเผ่าแรกบนเกาะลังกา และพบว่า เผ่าชนจากดินเดียข้ามมาสู่ลังกาโดยหมู่เกาะที่เรียกว่าอาดัมบริดจ์ หรือสะพานอาดัม พวกนี้เองสืบเชื้อสายผสมพันธุ์กับเผ่าชุนยุคหินชาวพื้นเมืองเดิม ก่อนที่จะกลายมาเป็นพวกเวททะ
               ประวัติศาสตร์อารยธรรมของศรีลังกา เริ่มต้นประมาณห้าพันปีมาแล้ว ชาวพื้นเมืองยุคแรกมีอยู่หลายเผ่าพันธุ์ มีสิงหล ทมิฬ มัวร์ มาเลย์รุ่นแรก นอกเหนือจากพวกเวททะแล้ว
               คัมภีร์มหาวงศ์กับประวัติศาสตร์ศรีลังกา
                ประวัติศาสตร์ศรีลังกาสมัยโบราณนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องบอกเล่าเชิงตำนาน ในคัมภีร์ชื่อ มหาวงศ์คัมภีร์นี้มีลักษณะเป็นหนังสือพงศาวดาร ผู้เขียนเป็นพระในพุทธศาสนา เขียนขึ้นเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6 ในคัมภีร์มหาวงศ์ ได้เล่าถึงประวัติราชวงศ์ นับแต่พระเจ้าวิชัย (พ.ศ.1) ถึง พระเจ้ามหาเสน (พ.ศ.830) รวมกษัตริย์ทั้งสิ้น 60 พระองค์ ในระยะเวลา 833 ปีเศษ
ลำดับราชวงศ์และเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ศรีลังกา
                1. ศรีลังกาสมัยอนุราธปุระ (พ.ศ.1-พ.ศ.1598)
                ปฐมกษัตริย์ศรีลังกา คือ พระเจ้าวิชัย จากแคว้นคุชรัต ประเทศอินเดีย ครองราชย์ที่เมืองตัมพปัณณิ กษัตริย์ในราชวงศ์นี้องค์ต่อ ๆ มาคือ พระเจ้าเทวานามปิยา ติสสะ ผลงานเด่นในรัชกาลนี้คือ สร้างสำนักสงฆ์มหาวิหารและอ่างเก็บน้ำติสาเทวะ เป็นต้น พระเจ้าทุฏฐคามินี พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย
               2. ศรีลังกาสมัยโปโลนนารุวะ (พ.ศ.1598-พ.ศ.1779)
                พ.ศ.1598-พ.ศ.1693 : พระเจ้าวิชัยพาหุ พระญาติของพระเจ้ามานวัมมะ ตีเอาเมืองโปลอนนารุวะคืนมาได้จากพวกโจฬะ สามารถขับไล่พวกโจฬะออกไปจากเกาะลังกาได้อย่างสิ้นเชิง ในปีพ.ศ.1613 ทรงสร้างพระราชวังใหม่ที่อนุราธปุระ แต่ภายหลังก็ย้ายมาประทับที่โปลอนนารุวะ ที่เมืองนื้ทรงสร้างพระราชวัง สร้างแพงและคูล้อมรอบเมือง และสร้างวัดพระเขี้ยวแก้ว, ทรงขอพระเถระจากพม่ามาฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเกาะลังกาและส่งราชฑูตไปบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา กษัตริย์ในสมัยนี้องค์ต่อ ๆ มาคือ พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 ในรัชกาลนี้มีการชำระพระสงฆ์ทุศีลรวม 3 นิกายสงฆ์เป็นนิกายเดียวกัน มีการสร้างวัด จัดอุปสมบททุกปีที่มณฑปกลางน้ำ สร้างพระราชวัง ซ่อมกำแพงเมือง
               3. ศรีลังกาสมัยหลัง (พ.ศ.1759 – พ.ศ.2051)
               พ.ศ.1775-พ.ศ.1779 : พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 3 ตั้งราชวงศ์ทัมพเทณิยะ ครองเฉพาะแคว้นมายารัฎ ทางทิศตะวันตกของเกาะลังกา ได้พระเขี้ยวแก้วและพระพุทธบาตรมารักษา
               พ.ศ.1779-พ.ศ.1813 : พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 เป็นกษัตริย์จากแคว้นมายารัฏ ได้สู้รบกับพระเจ้าจันทรภาณุ (ชาววะกะ) แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) และกำจัดพระเจ้ามาฆะได้ในปี พ.ศ.1798 กษัตริย์ในสมัยนี้องค์ต่อ ๆ มาคือ พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 3 พระเจ้าปรากรพาหุที่ 4 เป็นต้น
               4. ศรีลังกาสมัยใหม่ (พ.ศ.2051-พ.ศ.2358) ยุคประเทศตะวันตกปกครอง

               พ.ศ.2051-พ.ศ.2052 : พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 9 ขึ้นครองราชย์ ประทับที่เมืองโกฎเฎ
               พ.ศ.2341-พ.ศ.2358 : พระเจ้าศิริราชาธิราชสีหะ เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ลังกา ถูกอังกฤษจับไปในพ.ศ.2358
               พ.ศ.2338-พ.ศ.2491 : อังกฤษยึดครองเกาะลังกาได้ มีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน, การเลิกทาส, การปฏิรูปการศึกษา
               5. ศรีลังกาสมัยปัจจุบัน
                พ.ศ.2474 : ศรีลังกาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
               พ.ศ.2491 : ชาวสิงหลและทมิฬมีการแบ่งเขตกันอยู่
               พ.ศ.2525 : ศรีลังกาได้เลือกประธานาธิบดีครั้งแรก 
               พ.ศ.2526 : เกิดความขัดแย้งรุนแรงครั้งใหญ่ระหว่างชาวสิงหล กับชาวทมิฬ
               พ.ศ.2530 : ศรีลังกาขอความช่วยเหลือจากอินเดียเพื่อแก้ไขปัญหาไกล่เกลี่ยชาวสิงหลกับชาวทมิฬ

 
3. ภูมิศาสตร์ประเทศศรีลังกา
       - ภูมิประเทศ
             เป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับที่24 ของโลก มีรูปร่างคล้ายหยดน้ำ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากเส้นศูนย์สูตร 550 ไมล์ หรือ 880 กิโลเมตร ตั้งอยู่ห่าง จากจุดใต้สุดของสาธารณรัฐอินเดียเพียง 28 ไมล์ หรือ 35 กิโลเมตร
พื้นที่ของสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา แบ่งออกเป็น 2 เขตคือ
               1. เขตชุ่มชื้น ได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด มีฝนตกมากกว่า 1,905 มิลลิเมตรต่อปีในที่สูงกว่า 3,750 มิลลิเมตร ฤดูแล้งสั้นประมาณ 13 เดือน อันได้แก่ภาค ตะวันออกเฉียงใต้ มีอุณหภูมิในที่ราบ 27 องศาเซลเซียสพิสัยน้อยกว่า 3 องศาเซลเซียส เขตชุ่มชื้นนี้มีฝนตกหนักช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และฝนตกน้อยช่วงเดือน มกราคมถึงกุมภาพันธ์ ประชาชนประกอบอาชีพด้วยการปลูกข้าว ยางพารา ชา กาแฟ และมะพร้าว
               2. เขตที่ราบ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันออกทั้งหมด และชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก โคลัมโบ พื้นที่มีทั้งที่ราบสูงและที่ราบต่ำ เหมาะแก่การเพาะปลูกยางพารา ข้าว ชา โกโก้ เป็นต้น
ทรัพยากรธรรมชาติ ศรีลังกาเป็นประเทศที่มีพลอยดิบ (Gueda) และอัญมณีเป็นจำนวนมาก
       - ภูมิอากาศ
            อากาศแบบเมืองร้อน ฝนตกชุกในช่วงมรสุม ซึ่งมี 2 ช่วง คือมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ( ตุลาคม มกราคม ) ฝนตกในภาคตะวันตกภาคใต้ และภาคกลางของประเทศ และ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ( พฤษภาคม - สิงหาคม ) ฝนตกในภาคเหนือและตะวันออกของประเทศ
ช่วงอากาศร้อน ( มีนาคม มิถุนายน ) อุณหภูมิเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส
ช่วงอากาศเย็น ( พฤศจิกายน มกราคม ) อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส
 
4. การแบ่งเขตการปกครอง


        ศรีลังกาประกอบด้วย 8 จังหวัด (provinces) ดังนี้ (ชื่อเมืองหลวงอยู่ในวงเล็บ)
1. จังหวัดกลาง (แคนดี)
2. จังหวัดซาบารากามูวา (รัตนปุระ)
3. จังหวัดตะวันตก (โคลอมโบ)
4. จังหวัดตะวันตกเฉียงเหนือ (กุรุเนกะละ)
5. จังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือ (ตรินโคมะลี)
6. จังหวัดใต้ (กอลล์)
7. จังหวัดกลางตอนเหนือ (อนุราธปุระ)
8. จังหวัดอูวา (บาดุลลา)
5. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศศรีลังกา
            ประเทศไทยและประเทศศรีลังกามีประวัติความสัมพันธ์ด้านศาสนายาวนานกว่า 700 ปี เมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี กล่าวคือในปี พ.ศ. 1696 พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช กษัตริย์แห่งลังกาทวีปได้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาจนรุ่งเรืองทั้งการศึกษาและการปฏิบัติ จนลังกาในยุคนั้นได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา สยามประเทศก็มีการนิมนต์พระสงฆ์จากลังกานามว่า ราหุล มาจำพรรษาและเผยแผ่พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ณ เมืองนครศรีธรรมราช ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งก็ได้รับการยอมรับในหมู่คนไทยอย่างรวดเร็ว
            ในปี พ.ศ. 1820 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ได้อาราธนาพระมหาเถรสังฆราช จากเมืองนครศรีธรรมราชมาจำพรรษา ณ วัดอรัญญิก ในกรุงสุโขทัย ทำให้พระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรืองในสยามประเทศนับแต่นั้นเป็นต้นมา
         ต่อมาปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คณะสงฆ์ในศรีลังกาได้เสื่อมสูญไป เนื่องจากภัยคุกคามจากพวกทมิฬ (อินเดีย) และชาติตะวันตก (โปรตุเกส) กษัตริย์ศรีลังกาในสมัยนั้นทรงพระนามว่า พระกีรติศรีราชสิงหะ จึงได้ส่งคณะทูตมายังกรุงศรีอยุธยาเพื่อขอสมณทูตจากสยามไปช่วยฟื้นสมณวงศ์ในศรีลังกาเมื่อปลาย พ.ศ. 2293 นำโดยพระอุบาลี พระอริยมุนี และพระนามะ ได้เดินทางไปยังศรีลังกาโดยเรือกำปั่นของฮอลันดา
 
{ แหล่งอ้างอิง
         http://www.oceansmile.com/Srilangka/SrilankaHistory.shtml
         http://th.wikipedia.org/wiki/ศรีลังกา
         http://www.diamondshine.co.th/Guru.php?country=%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2&type=%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น