เนื่องด้วยในเดือนสิงหาคมนี้เป็นวาระครบ ๙๕ ปีแห่งวันอภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพรรณี พระบรมราชินี และอีกทั้งในเดือนสิงหาคม ยังจัดเป็นเดือนวันสตรีไทยและแม่แห่งชาติอีกด้วย จึงทำให้ทางพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เห็นควรที่จะจัดโครงการสัมมนาเรื่อง “หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน”
เพศแม่เป็นสัญลักษณ์แห่งการให้กำเนิดและความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคคลาสสิกได้รับการยกย่องเป็นเทพีแห่งสงคราม เทพีแห่งการเยียวยา เทพีแห่งการล่าสัตว์ แม้แต่ในสังคมอินเดีย เทพีหลายองค์ทรงเป็นศักติ หรือ พลังของเทพเจ้าสำคัญจำนวนไม่น้อยตามความเชื่อหลายลัทธิ
ผู้หญิงได้รับการปฏิบัติแตกต่างกันออกไปทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก ตามความเชื่อทางศาสนาและค่านิยมในสังคม แต่หลังจากผ่านหนาวมาจนถึงวัยอาวุโสสูงสุด สตรีเพศทั้งในสังคมจีนและอินเดีย อาจมีสถานภาพเป็นผู้ชี้ทางอนาคตของครอบครัวบนสถานภาพของการเป็น "ผู้รู้และผู้สืบทอดภูมิปัญญา" ทั้งในเรื่องความเป็นอยู่และพิธีกรรมของครอบครัว โดยมีศาสนาและความเชื่อเป็นสายธารเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม
วิทยากรโดย
นางสาววิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ หัวหน้าหอจดหมายเหตุศิริราชพยาบาล
นางพิมพ์ฤทัย ชูแสงศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสารลิซ่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น