การสังหารสุดหฤโหดที่นานกิง หรือ การสังหารหมู่นานกิง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการที่ทหารกองทัพจักพรรดิญี่ปุ่นเข้าบุกยึดเมืองนานกิงไว้ได้ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1937 ในยุทธการนานกิง เป็นส่วนหนึ่งในสงครามจีน - ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และต่อมาคือส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ทหารกองทัพจักรพรรดิญี่ปุ่น ได้ทำการทารุณกรรมแก่เชลยสงคราม สังหารพลเรือน โดยการทารุณกรรมต่าง ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ “การข่มขืน” ผู้หญิงพลเรือนจำนวน 20,000 - 80,000 คน ซึ่งเป็นที่โด่งดังไปทั่วโลก
เมื่อญี่ปุ่นได้เริ่มเข้าคุกคามเอเชียตะวันออก โดยเข้ายึดครองแมนจูเรียได้ใน ค.ศ. 1931 ญี่ปุ่นได้ใช้อุปกรณ์ประจำกองทัพอันได้รับการพัฒนามาอย่างดี รวมทั้งความเชื่อที่ว่าชนชาติตนเหนือกว่าชนชาติอื่นใด เป็นข้ออ้างในการเข้าปกครองเพื่อนบ้าน แมนจูเลียพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว แล้วญี่ปุ่นก็จัดตั้งรัฐบาลหุ่นชุดแมนจูกัวขึ้นปกครอง โดยทำให้ดูเหมือนว่าอยู่ภายใต้อำนาจของจักรพรรดิจีน (ซึ่งความจริงถูกปลดจากราชอำนาจแล้ว)
อีกสี่ปีต่อมา คือใน ค.ศ. 1935 บางส่วนของมณฑลฉาฮาร์และเหอเป่ยก็ถูกยึดครอง ในปี ค.ศ. 1937 เมืองปักกิ่ง เทียนสิน เซี่ยงไฮ้และท้ายที่สุด เมืองนานกิงก็พ่ายแพ้ ทศวรรษนั้นหนักหนาสาหัสสำหรับชาวจีน และที่จริงแล้ว กว่าทหารญี่ปุ่นคนสุดท้ายจะจะถอนเท้าออกจากจีนก็ต่อเมื่อ สงครามโลกครั้งที่ 2 จบสิ้นลงในปี ค.ศ. 1945
เมื่อญี่ปุ่นได้เริ่มเข้าคุกคามเอเชียตะวันออก โดยเข้ายึดครองแมนจูเรียได้ใน ค.ศ. 1931 ญี่ปุ่นได้ใช้อุปกรณ์ประจำกองทัพอันได้รับการพัฒนามาอย่างดี รวมทั้งความเชื่อที่ว่าชนชาติตนเหนือกว่าชนชาติอื่นใด เป็นข้ออ้างในการเข้าปกครองเพื่อนบ้าน แมนจูเลียพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว แล้วญี่ปุ่นก็จัดตั้งรัฐบาลหุ่นชุดแมนจูกัวขึ้นปกครอง โดยทำให้ดูเหมือนว่าอยู่ภายใต้อำนาจของจักรพรรดิจีน (ซึ่งความจริงถูกปลดจากราชอำนาจแล้ว)
อีกสี่ปีต่อมา คือใน ค.ศ. 1935 บางส่วนของมณฑลฉาฮาร์และเหอเป่ยก็ถูกยึดครอง ในปี ค.ศ. 1937 เมืองปักกิ่ง เทียนสิน เซี่ยงไฮ้และท้ายที่สุด เมืองนานกิงก็พ่ายแพ้ ทศวรรษนั้นหนักหนาสาหัสสำหรับชาวจีน และที่จริงแล้ว กว่าทหารญี่ปุ่นคนสุดท้ายจะจะถอนเท้าออกจากจีนก็ต่อเมื่อ สงครามโลกครั้งที่ 2 จบสิ้นลงในปี ค.ศ. 1945
หลังเซี่ยงไฮ้สยบอยู่ในอุ้งมือ พอถึงเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1937กองทัพญี่ปุ่นก็โหมกำลังเข้ากระหน่ำตีเมืองหลวง ซึ่งสาธารณรัฐจีนเพิ่งจัดตั้งขึ้นได้ไม่นาน และเมื่อเมืองเซี่ยงไฮ้พ่ายแพ้ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1937 ทหารญี่ปุ่ก็ฉลองชัยชนะครั้งนั้นอย่างอำมหิตชนิดไม่อาจเทียบได้กับเหตุการณ์ไหนในประวัติศาสตร์โลก
คนหนุ่มหลายหมื่นคนถูกต้อนมารวมกัน จากนั้นไล่ออกไปอออยู่ที่นอกเมือง แล้วเป่าให้ล้มระเนระนาดด้วยปืนกล หรือใช้เป็นหุ่นทดลองคมดาบ หรือราดจนชุ่มด้วยน้ำมันแล้วจุดไฟเผาทั้งเป็น
นานหลายเดือนที่ถนนสายต่าง ๆ ในเมืองท่วมสูงด้วยเศษเนื้อมนุษย์ที่เปื่อยเน่าคละคลุ้ง ผู้เชี่ยวชาญจากต่าง ๆ ประเมินตัวเลขผู้เสียชีวิต สูงถึง 350,000 ศพ
นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งประเมินว่า หากซากศพจากเมืองนานกิงลุกขึ้นยืนต่อแถวกันได้ แถวของพวกเขาก็จะยาวจากนานกิงไปจนถึงเมืองหางโจว ซึ่งเป็นระยะทางประมาณ 321 กิโลเมตร และจะต้องใช้ตู้รถไฟจำนวน 25,000 ตู้เต็ม ๆ จึงจะขนร่างเหล่านั้นหมด
ไม่เฉพาะจำนวนผู้ถูกสังหารเท่านั้นที่ทำให้การฆ่าล้างเผ่าที่นานกิงเป็นเรื่องต้องจดจำ แต่พฤติกรรมอันโหดร้ายทารุณที่ทำให้ชาวเมืองต้องตายก็เป็นอีกเรื่องที่ลืมไม่ได้ ชาวชาวจีนถูกใช้เป็นหุ่นทดลองคมดาบและเป็นอุปกรณ์ประกอบเกมแข่งขันตัดหัว ส่วนผู้หญิงนั้นประมาณกันว่า หญิงจีนระหว่าง 20,000 – 80,000 คนถูกข่มขืน ทหารส่วนมากยังทำมากกว่าข่มขืน หากขว้านเอาไส้ เฉือนนม หรือตรอกตรึงไว้กับข้างฝาทั้งยังเป็น ๆ พ่อถูกบังคับให้ข่มขืนลูกสาว และลูกชายถูกบังคับให้ข่มขืนแม่ ในขณะสมาชิกอื่น ๆ ในครอบครัวถูกบังคับให้ดู
นอกจากการฝังทั้งเป็น ตัดอัณฑะ คว้านอวัยวะภายใน หรือย่างสด ที่กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา ยังมีการทำทรมานร้ายกาจอื่น ๆ ราวเป็นการกระทำจากนรกโลกันตร์ เช่น ลากเอาลิ้นของเหยื่อออกมาแล้วแขวนทั้งร่างด้วยชิ้นเนื้อเล็ก ๆ นั้นไว้กับตะขอเหล็ก หรือไม่ก็ฝังเพียงครึ่งล่าง แล้วเฝ้าดูร่างครึ่งบนของเหยื่อถูสุนัขพันธุ์เยอรมันเซพเพิร์ดทึ้งเป็นชิ้น ๆ ภาพเหล่านี้น่าตระหนกจนแม้ “นาซี” ที่อยู่ในนานกิงก็ยังผวา กระทั้งหนึ่งในนาซีให้สมญาสิ่งที่ตนเห็นว่า “พฤติกรรมเยี่ยงเดรัจฉาน”
กระนั้นการฆ่าล้างเผ่าที่นานกิงก็ยังเป็นเรื่องที่คนไม่รู้เท่าไร ไม่เหมือนกับการทิ้งระเบิดปรมาณูลงที่ญี่ปุ่น หรือการฆ่าล้างเผ่าชาวยิวในยุโรป เรื่องน่าสยองขวัญของการเข่นฆ่าหมู่ที่นานกิงเป็นเรื่องที่คนนอกทวีปเอเชียไม่รับรู้โดยแท้จริง หนังสือประวัติศาสตร์จำนวนมากที่พิมพ์ในสหรัฐอเมริกาไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่พบในหนังสือวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมในอเมริกา พบว่ามีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น ที่เอ่ยถึงเรื่องการฆ่าล้างเผ่าที่นานกิงว่าเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 และแทบจะไม่มีการอ้างถึงหรือถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้ในสังคมอเมริกัน
ท่ามกลางความโหดร้ายของสังหารหมู่ของทหารญี่ปุ่นที่กินเวลายาวนานถึงหกสัปดาห์นั้นกลับมีบุคคลๆ หนึ่งพยายามช่วยเหลือชาวบ้านนานกิงตาดำๆ นี้ และคุณเชื่อหรือไม่ว่าคนนั้นคือนาซีใส่บ่าสลักด้วยนะ ว่าเป็นนาซี เขาได้เข้ามาช่วยชีวิตชาวจีนไว้เป็นจำนวนมาก จนได้ชื่อว่าเป็น Schindlerof Nanjing หรือพระโพธิสัตว์แห่งนานกิง
เขาชื่อ จอห์น ราเบ้เป็นลูกชายของกัปตันเรือ เขาเกิดในฮัมบรูก เยอรมัน ปี 1882 และเดินทางมาถึงเมืองจีนในปี 1908 และได้เข้าทำงานให้กับบริษัทซีเมนส์สองปีต่อมา ทำงานในกรุงปักกิ่งจนถึงเดือนธันวาคม ปี 1931 เมื่อบริษัทได้ย้ายเขาไปยังสำนักงานในเมืองนานกิงฐานะเป็นตัวแทนอาวุโสประจำประเทศจีนของบริษัท เขาได้ขายโทรศัพท์, กังหันน้ำและเครื่องใช้ไฟฟ้าให้กับรัฐบาล
ในปี 1937 เป็นที่ชัดเจนว่า กองทัพญี่ปุ่นกำลังเคลื่อนเข้ามา และชุมชนต่างชาติและประชากรชาวจีนจำนวนมากของเมืองนานกิงรวมไปถึงรัฐบาลได้หลบหนีออกจากเมืองตั้งแต่พฤศจิกายน ราเบ้ได้ส่งครอบครัวของตนกลับเยอรมันแต่เขายังคงอยู่เบื้องหลังพร้อมด้วยชาวต่างชาติจำนวนหนึ่งในการสร้างเขตปลอดภัย ไม่ช้าหลังจากกองทัพญี่ปุ่นมาถึง ราเบ้ได้รับเลือกให้เป็นประธานของคณะกรรมการที่มีสมาชิกสิบห้าคนของเขตปลอดภัยนานาชาติ "ในครั้งแรก เขาลังเลใจและกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของครอบครัวตัวเอง แต่แล้วเขาก็เข้ารับตำแหน่ง และแบกรับความรับผิดชอบไว้ ไม่โยนให้ใคร "ผู้อยู่ในเหตุการณ์กล่าว
แน่นอนเมื่อกองทัพญี่ปุ่นบุกเมือง นานกิงก็เกิดความโกลาหลขึ้นบนท้องถนนเดือนธันวาคมปี 1937 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นโจมตีกำแพงที่สร้างในสมัยราชวงศ์หมิงที่โอบล้อมเมืองหลวงของจีนในขณะนั้น สิ่งนี้ทำให้เกิดการสังหารหมู่จนกลายเป็นชื่อที่รู้จักกันว่า "การข่มขืนเมืองนานกิง"
ชาวเมืองหลายพันหลายหมื่นคนถูกสังหารโดยกองทัพญี่ปุ่น แต่สำหรับใครหลายคน มีคนมาช่วยชีวิตเขาไว้ได้ทัน คนๆ นั้นคือสมาชิกพรรคนาซีผู้ซึ่งให้ชาวจีนได้พักพิงในสวนของบ้านที่สร้างจากอิฐสีเทาอันหรูหราใกล้ๆ กับมหาวิทยาลัย ทำให้สามารถช่วยชีวิตคนได้มากว่าสองแสนห้าหมื่นคนก็คือ จอห์น ราเบ้ นั้นเอง
ราเบ้ได้นำกลุ่มมิชชันนารี , นักธุรกิจและนักวิชาการชาวตะวันตกในการติดตรากาชาดที่เขียนไว้บนผ้าปูเตียงไว้รอบ ๆ พื้นที่สองหรือสามตารางกิโลเมตร คนกว่าสองแสนห้าหมื่นคนที่สามารถเข้าไปข้างในเขตปลอดภัยสามารถรอดมาได้ แต่สามแสนคนที่ข้างนอกเขตปลอดภัยของนานาชาติกลายเป็นเหยื่อของการสังหารหมู่อันโหดร้ายแห่งเมืองนานกิง
แม้เขาจะสวมปลอกแขนรูปสวัสดิกะ ทำให้ดูแล้วราเบ้ไม่น่าจะเป็นวีรบุรุษ แต่เขามีความกล้าหาญ เพราะเหตุนี้เขาเลือกที่จะช่วยเหลือมนุษย์โดยไม่คำนึงถึงตัวเองที่เขาในการสร้างเขตปลอดภัยสำหรับชาวเมือง
ด้วยเหตุนี้ ในเวลาต่อมาชาวเมืองนานกิงได้ยกเขาเป็น "พระโพธิสัตว์ในร่างมนุษย์แห่งเมืองนานกิง"
ภายหลังหมดสงคราม ราเบ้ถูก"ปลดความเป็นนาซี"จากฝ่ายสัมพันธมิตร และช่วยท้ายของชีวิตราเบ้ตกอับมากๆ แต่กระนั้นเขาก็ยังเลี้ยงชีพด้วยห่ออาหารและเงินที่ส่งมาจากชาวจีนที่รู้สึกกตัญญูต่อวีรกรรมของเขา ราเบ้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในปี ค.ศ. 1950 แต่ถึงกระนั้นวีรกรรมของเขายังอยู่ในความทรงจำของชาวนานกิงต่อไป
หลังการสังหารหมู่ที่นานกิง ด้วยความแน่ใจว่าญี่ปุ่นต้องแพ้ ฝ่ายสัมพันธมิตรจัดตั้งศาลพิเศษขึ้นดำเนินการกับอาชญากรสงครามตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยังไม่จบ เดือนมีนาคม ค.ศ. รัฐอมริกันประกาศตั้ง คณะกรรมการสอบสวนอาชญากรสงคราม ตามด้วยคณะอนุกรรมการสอบสวนอาชญากรสงครามแห่งภูมิภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิก ขึ้นที่นครจุงกิง และได้มีการพิจารณาคดี ผลปรากฏว่า นายทหารเรือ 2 คน คือ เรือตรีมูคาอิ โทฉิอาขิ และเรือตรีโนดะ ทาเคฉิ ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า เนื่องจากพบหลักฐานจากภาพในบทความหนึ่งในหนังสือ Japan Advertiser
นอกจากนี้ ศาลทหารสากลแห่งภาคตะวันออกไกล หรือศาลพิจารณาคดีอาชญากรสงครามแห่งโตเกียว โดยเริ่มพิจารณาคดี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1946 ผลปรากฏว่า พลเอกมัตสึอิ อิวาเนะ แม่ทัพใหญ่ของกองทหารนอกประเทศที่สั่งบุกนานกิงเป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมด้วยอาชญากรสงครามชั้น 1 อีก 6 คน หนึ่งในนั้นคือรัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิโรตะ โคขิ ซึ่งถูกประหารชีวิตด้วยวิธีแขวนคอที่เรือนจำซูกาโมในโตเกียว
{ แหล่งอ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/การสังหารหมู่นานกิง
http://th.wikipedia.org/wiki/ยอน ราเบอ
http://www.thairath.co.th/column/life/sundayspecial/259862
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น